ReadyPlanet.com


ข้อมูล boiler ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน


สวัสดีค่ะ

รบกวนสอบถามข้อมูลดังนี้ค่ะ

1. นอกเหนือจากกรมโรงงานแล้วมีหน่วยงานใดที่จะสอบถามข้อมูลปริมาณ - การจดทะเบียน boiler ได้อีก

2. แนวโน้มพลังงานชนิดใดที่จะถูกนำมาใช้ในอนาคต และอุตสาหกรรมประเภทใดจะเป็นผู้ปรับเปลี่ยนบ้าง

3. boiler ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมประเภทใดบ้างคะ

ขอบคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ kat :: วันที่ลงประกาศ 2007-08-20 09:41:19


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (748505)

ตอบกระทู้คุณ kat ดังนี้ครับ

1. นอกเหนือจากกรมโรงงานแล้วไม่มีที่อื่นใดอีก จำเป็นต้องไปที่ศูนย์เทคโนโลยีความปลอดภัย ยื่นแบบเอกสาร DW-04-AP-FM-19(00) การยื่นนั้น สามารถยื่นได้ตนเอง หรือทางไปรษณีย์ครับ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://intranet.dip.go.th/boc/download/Data-Support/factory/4.certificate%20boiler%20security.pdf 

 

2.  แนวโน้มเชื้อเพลิงในอนาคตคือ ไฮโดรเจน และถ่านหิน ครับ ข้อมูลจริงเกี่ยวกับเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง พบในเอกสารยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ระบุไว้ว่า ปี 2011 ไทยจะต้องมีการใช้พลังงานทดแทนให้ได้ 8%

ตัวเลข 8% นี้ ถ้าแยกออกมาเป็น Ethernol, Biodiesel, การใช้ Combine Heat and Power (CHP) ในภาคอุตสาหกรรม และการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงทดแทนอื่นๆแล้ว แต่ละอย่างก็มีปริมาณเล็กน้อยมาก มองไม่เห็นอนาคตของการพึ่งพาตนเองได้เลย

ถ้าให้วิเคราะห์ ก็ต้องดูพื้นฐานของผู้กุมนโยบายพลังงานของชาติว่ามาจากด้านใด ก็ต้องยอมรับกันนะครับว่า ทั้งหมดผ่านมาจากด้านธุรกิจน้ำมันทั้งสิ้น หากกำหนดให้พลังงานทดแทนมีสัดส่วนการใช้ที่สูงขึ้น ก็ย่อมกระทบกับธุรกิจน้ำมันอย่างแน่นอน

และถ้าวิเคราะห์ตามสภาพความเป็นจริง พลังงานทดแทนในกลุ่มที่กล่าว จะส่งเสริมและผลักดันอย่างไร ก็คงทำไม่ได้มากไปกว่าที่ระบุไว้คือ 8% ในปี 2011 เพราะมันมีข้อจำกัดทางด้านการผลิต Ethernol และ Biodiesel มีอยู่มาก ทำเต็มที่ก็คงได้ประมาณนี้แหละ

เชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันที่สามารถจะมาแทนที่น้ำมันในปริมาณที่มาก หรือต่อไปอาจจะทดแทนได้ทั้งหมดนั้น มีอยู่ครับ เชื้อเพลิงตัวที่ว่านั้น คือ ไฮโดรเจน ซึ่งเป็นธาตุลำดับที่ 1 ในตารางธาตุ ไฮโดรเจน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในสุริยะจักรวาล และในโลกมนุษย์นี้ด้วย

กลุ่มประเทศ APEC ที่ได้ส่งผู้แทนมาประชุมที่เชียงใหม่ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548 มีการเตรียมวาระเกี่ยวกับ นโยบายการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทน สำหรับการประชุมใหญ่ในครั้งต่อไป ได้สรุปลำดับความสำคัญของชนิดของพลังงานทดแทนไว้เป็นลำดับ คือ 1 ไฮโดรเจน 2 สารชีวมวล และ 3 เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนด์อื่นๆ แต่ทราบหรือไม่ว่าประเทศไทย จัดอันดับไฮโดรเจนไว้ที่ใด ไว้ท้ายสุดเลยครับ โดยให้เหตุผลว่า มันเป็นเชื้อเพลิงในอนาคต ไทยยังไม่พร้อมต้องมีการเตรียมความพร้อมอีกมาก (อ่านบทความได้จาก http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9480000147591)

อ่านแล้วก็ยังดีใจที่ไทยยังรู้ว่า ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในอนาคต และไทยต้องเตรียมความพร้อม แต่ที่เสียใจคือ การเตรียมความพร้อมของไทยนั้นคือ ไม่ทำอะไรกันเลย นโยบายระดับชาติก็ไม่มีกล่าวถึง นักวิจัยของไทยจะขอทุนทำวิจัย ก็ขอไม่ได้ เพราะประเทศไทยไม่มุ่งเน้น

ระยะเวลาในอนาคตที่ว่านั้น มันยาวนานเท่าใด ก็ไม่ได้กล่าวกันไว้ให้ตระหนัก ทางสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น เริ่มพูดถึง Hydrogen Economic กันแล้ว และมีบางรายพูดไว้ว่า ปี 2010 คือปีเริ่มต้นของยุคไฮโดรเจน สิงคโปร์เตรียมตัวเป็น Hydrogen Cluster มีการนำรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง ที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน มาแล่นทดสอบเก็บตัวเลขกันมาเป็นปีแล้ว รถยนต์ทุกยี่ห้อในโลกนี้ มีรถต้นแบบที่ใช้เครื่องเซลล์เชื้อเพลิง กับเชื้อเพลิงไฮโดรเจน หรือเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนที่คุ้นเคยกัน พร้อมที่จะผลิตออกจำหน่าย ถ้าระบบการผลิตและการจัดจำหน่ายไฮโดรเจนพร้อมบริการ

ซึ่งในส่วนของระบบผลิตและจำหน่ายไฮโดรเจนนั้น ประเทศที่เขาเห็นว่าเขามีศักยภาพด้านพลังงานธรรมชาติอยู่มาก และยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เขากำลังค้นคว้าหาวิธีนำพลังงานธรรมชาติที่ประเทศของเขามีอยู่มาผลิตไฮโดรเจนกัน แล้วประเทศไทยของเราล่ะ ทำอะไรอยู่ คำตอบสำหรับการผลิตไฮโดรเจนของแต่ละประเทศไม่จำเป็นที่จะต้องเหมือนกัน หรือต้องเลียนแบบกัน ต่างคนต่างคิดได้ และโลกทุกวันนี้ เป็นโลกของการแก่งแย่งสิทธิบัตร อเมริกาอาจจะใช้พลังงานนิวเคลียร์มาเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการผลิตไฮโดรเจน เวียตนามอาจจะคิดใช้พลังงานแสงแดดมาเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการผลิตไฮโดรเจน ไอซ์แลนด์จะใช้พลังงานความร้อนใต้ดินมาผลิตไฮโดรเจน ออสเตรเลียเปลี่ยนสารเร่งปฏิกิริยาการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าจากการใช้กรด/เกลือ มาเป็นสารโบแรก คิดได้ก็จดสิทธิบัตรกันไว้ และหลายประเทศที่เจริญทางวิทยาการด้านเซมิคอนดักเตอร์และนาโนเทคโนโลยี ก็กำลังคิดนำวิทยาการเหล่านี้มาใช้เพื่อผลิตไฮโดรเจนจากแสงแดดโดยตรง ญี่ปุ่นให้โจทย์พร้อมให้ทุนแก่นักค้นคว้าวิจัยว่า ให้หาวิธีที่ทำให้แสงแดดที่ส่องบนหลังคาบ้าน 1 หลัง ใน 1 วัน สามารถนำมาผลิตไฮโดรเจนเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าให้พอใช้ภายในบ้านหลังนั้น 1 วัน และเหลือเติมรถยนต์ของบ้านหลังนั้น 1 คันให้ใช้ได้ 1 วัน ถ้าเขาคิดขึ้นมาได้จริงๆ การใช้พลังงานเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่สุขสบายของทุกบ้านในโลกนี้จะมีสภาพเช่นไร ลองนึกดูนะครับ

แล้วประเทศไทยล่ะ ไม่มีการส่งเสริมให้คิดให้ค้นคว้า คนไทยเชื่อว่า เราก็มีแสงแดดมาก ถือเป็นศักยภาพทางพลังงานธรรมชาติที่ดีสำหรับการนำมาผลิตไฮโดรเจน แต่เมื่อเราไม่คิด คนอื่นเขาคิดได้ ต่อไปเราก็จะไม่เหลืออะไรไว้ให้คิด เราต้องไปซื้อสิ่งที่คนอื่นคิดไว้มาใช้แทน แสงแดดที่ส่องอยู่บนหลังคาบ้านเรา ถ้าจะเอามาผลิตไฮโดรเจน ต้องจ่ายให้ญี่ปุ่น หรือ เวียตนาม หรือลาว ก่อน แล้วจะมานั่งเจ็บใจกันนะครับ

มีการกล่าวจากผู้เกี่ยวข้องกับกิจการพลังงานว่า ไฮโดรเจน เป็นเชื้อเพลิงที่แพง ข้อนี้ก็ไม่ทราบว่ามีตัวเลขอ้างอิงจากที่ใด แต่ที่ทราบ ถึง ณ ปัจจุบัน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ) มีการผลิตและจำหน่ายไฮโดรเจนในราคา 44 บาทต่อ 1 ลบ.เมตร ที่ 150 แรงดันบรรยากาศ (ถ้าซื้อมากส่งให้ถึงที่ด้วย) ปริมาณไฮโดรเจนขนาดนี้ ก็ยังไม่เคยมีการนำมาทดลองใช้ในรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง ว่าจะแล่นได้สักกี่กิโล เมื่อไม่เคยทดลองแล้วกล่าวว่าแพง (คือไม่คุ้มค่า) ก็น่าแปลกใจ จึงลองค้นย้อนไปถึงปี 2537 พบว่า กฟผ. เคยนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิงมาทดลองใช้ผลิตไฟฟ้า แล้วได้ผลสรุปออกมาว่าไม่คุ้มค่า ต้นทุนสูง แต่นั่นก็ 12 ปีผ่านมาแล้ว วิทยาการด้านเซลล์เชื้อเพลิงพัฒนาไปไกลมาก ถ้ายังคงยึดถือข้อมูลเมื่อ 12 ปี มาเป็นเหตุผล ก็กระไรอยู่นะครับ

ไฮโดรเจน เป็นเชื้อเพลิงที่เมื่อนำมาใช้กับเซลล์เชื้อเพลิง ไม่ต้องนำมาเผาหรือจุดให้ลุกไหม้ก่อนเช่นการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกับเครื่องยนต์กลไกในปัจจุบัน มันสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงจากปฏิกิริยาเคมีกลับด้านกับการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า ไม่มีไอเสีย ไม่มีเสียงดัง ในยุคไฮโดรเจนที่จะมาถึง จะมีการใช้ไฮโดรเจนกับเซลล์เชื้อเพลิง เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้กับบ้านพักอาศัย สำนักงาน อาคารต่างๆ ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าพกพา แทนการใช้ Rechargeable Battery ใช้กับรถยนต์แทนเครื่องยนต์สันดาปภายใน จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่เติมเชื้อเพลิงแทนการใช้ Battery ไม่มีเขม่าควัน ไม่มีฝุ่นละออง ไม่มีก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ไม่มีเสียงจากท่อไอเสียดังรบกวน เป็นเชื้อเพลิงหมุนเวียนอย่างแท้จริง ใช้ได้ไม่มีวันหมด แต่ละประเทศผลิตขึ้นเองได้จากศักยภาพพลังงานธรรมชาติที่แต่ละท้องที่มีอยู่ ไม่จำเป็นต้องนำเข้าจากประเทศอื่น (นี่คือการพึ่งพาตนเองที่ประเทศอื่นกำลังกระทำ เช่นโครงการ Freedom car Freedom Fuel ของ สหรัฐฯ)

ภาพอย่างนี้แหละที่มนุษย์ทุกคนไฝ่ฝัน แต่จะมีผู้ที่ไม่ชอบอยู่บ้างก็คือผู้ค้าน้ำมันในปัจจุบัน เพราะความสำคัญของน้ำมันจะลดลงไปเหลือเพียงเป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตพลาสติก และจารบีหล่อลื่นเท่านั้น

ความน่ากลัวของไฮโดรเจนที่เราเคยทราบๆกันมา ก็จะต้องมีวิทยาการใหม่ๆ ที่ช่วยกันคิดขึ้นเพื่อให้มนุษย์ทุกคนปลอดภัยจากการใช้ไฮโดรเจน เชื้อเพลิงทุกชนิดมีอันตราย ถ้าไม่รู้จักวิธีใช้ ไฮโดรเจนก็เช่นกัน ไม่น่ากลัวถ้ารู้จักวิธีใช้และมีเครื่องมือสมัยใหม่ที่ผู้มีความรู้และมีทุนกำลังคิดกำลังสร้างกันอยู่ (โอกาสพึ่งพาตนเองของคนไทยในส่วนนี้ก็มี ถ้าได้รับการส่งเสริมที่ดีพอ และจริงจัง)

ช่วยๆกันส่งเสริมและแนะนำให้คนไทยรู้จักเตรียมตัวให้พร้อมกับการมาถึงของยุคไฮโดรเจน ในอนาคตอันใกล้นี้นะครับ รุ่นเด็กๆของเราต้องได้พบได้เจอแน่ๆ แต่วันนี้หลักสูตร ตำราวิชาการต่างๆ ของเรา ยังไม่มีสอดแทรกเข้าไปเลย อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เขาเอามาสอนกันตั้งแต่ชั้นประถมแล้วนะครับ การไม่ยอมให้คนไทยคิดค้นคว้าอะไรเลย ก็ต้องยอมซื้อจากที่อื่นเขา แต่อย่าถึงขั้นที่ต้องนำเข้าไฮโดรเจน (ที่ผลิตในไทย) จากสิงค์โปร์ที่มีพื้นที่เล็กนิดเดียว มาใช้กันเลยนะครับ

 

3.  บอยเลอร์ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมประเภท อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการฟอกย้อม ครับ เพราะส่วนใหญ่ ใช้ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงครับ ซึ่งมีต้นทุนประหยัดกว่าเชื้อเพลิงจำพวก น้ำมัน หรือ พลังงานอื่นๆ ครับ ส่วนอุตสาหกรรมประเภทอื่น จะใช้ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน

ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster boilerthailand.com วันที่ตอบ 2007-08-21 09:39:48


ความคิดเห็นที่ 2 (928061)
ควบคุมหม้อน้ำเชื้อเพลิงถ่านหินอยู่ ขนาด 6 ตัน/ชม.อยากทราบ 1 สูตรการคำนวนหาประสิทธิภาพหม้อน้ำ 2 จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นถ่านหิน แอนทราไซด์,บิทูมินัส,ซับบิทูมินัส หรือลิกไนต์ 3 กากถ่านหินมีประโยชน์ใหม ถ้าไม่มีควรกำจัดอย่างไร 4 ขอสูตรคำนวน แปลง ปอนด์ เป็น กิโลกรัม,กิโลจูล เป็น กิโลแคลอรี่ 5 ก่อนการเผาไหม้เอาทรายผสมถ่านหินตอนใหน เพื่ออะไร ปริมาณเท่าไร
ผู้แสดงความคิดเห็น รันย์ วันที่ตอบ 2008-01-23 20:36:06


ความคิดเห็นที่ 3 (3062259)

ถามหน่อยครับช่วยที่ จงคำนวนหาประสิทธิภาพ Boiler เมื่อกำหนดให้ใช้ไม้วันละ 830 ตัน,ถ่านหิน 18 ตัน ได้ไอน้ำ 1100 ตัน กำหนดให้ค่าความร้อนไม้ =8500 kJ/kg ค่าความร้อนถ่านหิน =21000 KJ/Kg ไอ้น้ำ 39 Bar 450 C =3200 KJ/Kg น้ำ25 C 600 KJ/Kg

วิธีทำ 

ผู้แสดงความคิดเห็น จะไปสอบครับ วันที่ตอบ 2009-08-09 23:00:23


ความคิดเห็นที่ 4 (3102615)

อยากทราบมาตรฐานคุณภาพอากาศโรงงานที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เน้น boiler ของต่างประเทศมีประเทศไหนบ้าง  อยากได้ข้อมูล ด่วน

ผู้แสดงความคิดเห็น สงสัย วันที่ตอบ 2009-10-01 10:52:46


ความคิดเห็นที่ 5 (3143459)

boiler ขนาด2ตันใช้น้ำมันเตาพบปัญหามีถ่านโคกในท่อไฟใหญ่จะแก้ไขยังไงครับแก้ยังไงก็ไม่หาย เปลื่ยนหัวฉีด ปรับลมใหม่ ตั้งแผ่นกระจายลม(djffuser) ตั้งกรวยควบคุมเปลวไฟ(flame tube) ก็ไม่หาย

ผู้แสดงความคิดเห็น หนุ่ม (anuphap_num-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-12-16 12:29:44


ความคิดเห็นที่ 6 (3204507)

การอบรมผู้ควบคุมหม้อไอน้ำยากไหมครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น jone (ni_ruj-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-03-12 21:59:23


ความคิดเห็นที่ 7 (3213717)

อยากทราบว่าถ่านหินใช้อย่างไรครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชัย (ta-wee2010-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-04-25 18:46:51


ความคิดเห็นที่ 8 (3216004)

มีโปรแกรมฝึกอบรมการใช้ บอยเลอร์ถ่านหินไหมครับ ถ้ามีรบกวนขอรายละเอียดด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น รักชาติ (rs-dot-6-dot-91-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-05-08 11:31:43


ความคิดเห็นที่ 9 (3266022)

ตอบ คห. 3 ประสิทธิภาพบอยเลอร์ = ปริมาณไอน้ำที่ผลิตได้x(เอ็นทาลปีไอน้ำ-เอ็นทาลปีของน้ำป้อน)x100

                                                                 ( อัตราการใช้เชื้อเพลิงต่อชั่วโมงxค่าความร้อนของเชื้อเพลิง(kJ/kg))

ผู้แสดงความคิดเห็น mayt (slipkbola-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-11-22 11:19:13


ความคิดเห็นที่ 10 (3488794)

boiler ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภท น้ำมันเครื่องมีมั๊ยค๊ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เสริมสวย วันที่ตอบ 2016-08-30 15:21:00



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.