ชนิดของหัวพ่นไฟ





หัวเผาแก๊ส (Gas Burnrs)
นอกเหนือจากข้อกำหนดด้านความปลอดภัย หัวเผาแก๊สยังง่ายต่อการออกแบบอีกด้วย หม้อไอน้ำที่มีขนาดเล็กจะใช้หัวเผาที่ความดันบรรยากาศแบบง่าย ๆ อากาศและแก๊สโดยรอบจะถูกดูดเข้าเตาเผาเอง แต่จากการที่อากาศและแก๊สยังไม่ผสมกันดีทำให้มีปริมาณอากาศส่วนเกินเข้าไปในเตาเผามากเกินไปและนำไปสู่การเกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ และเมื่ออากาศส่วนเกินดังกล่าวร้อนขึ้นก็จะพาความร้อนผ่านออกไปทางปล่อง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำลดลง
การเผาไหม้ขอหม้อไอน้ำขนาดใหญ่ ห้องเผาไหม้จำเป็นต้องมีหัวเผาที่เหมาะสม และควบคุมอากาศและแก๊สที่ผสมกันได้ เพื่อที่จะสามารถควบคุมความยาวและรูปร่างของเปลวไฟ และยังสามารถควบคุมปริมาณของอากาศที่เผาไหม้ให้ทำการเผาไหม้มีประสิทธิภาพสูงสุด
หัวเผาน้ำมัน (Oil Burners)
การใช้งานหัวเผาน้ำมันค่อนข้างจะยุ่งยากซับซ้อน เพราะว่าเชื้อเพลิงต้องอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเผาไหม้ที่สะอาดและรวดเร็ว และด้วยข้อกำหนดเช่นนี้จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปน้ำมันให้อยู่ในสภาวะที่เป็นฝอยละอองละเอียด (Atomization) เพื่อให้น้ำมันกลายเป็นฝอยเล็ก ๆ มีขนาดตามที่ต้องการ สามารถทำได้ถ้าน้ำมันอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมและมีความหนืดที่ถูกต้อง ถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไปหยดน้ำมันก็จะใหญ่ การเผาไหม้ก็จะไม่ดีและก่อให้เกิดเขม่าและควัน แต่ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป หยดน้ำมันก็จะเล็กเกินไปทำให้ผ่านเปลวไฟเร็วเกินกว่าที่จะเผาไหม้ได้ ไม่ว่าจะเกิดในกรณีใดก็ตามเชื้อเพลิงก็จะถูกใช้ไปอย่างเต็มที่ และยิ่งไปกว่านั้นพื้นผิวถ่ายเทความร้อนก็จะเสื่อมสภาพลง
หัวเผาน้ำมันแบ่งออกเป็น 3 อย่าง แบบที่ใช้ง่ายที่สุดและมีการใช้อย่างกว้างขวางที่สุดก็คือ แบบพ่นด้วยความด้น (Pressure Jet) คือน้ำมันจะถูกสูบขึ้นมาที่ความดันผ่านหัวฉีด แบบที่ 2 คือแบบเป่าด้วยอากาศหรือไอน้ำ (The Air or Steam Blast Type) จะใช้ความดันอากาศหรือไอน้ำเพื่อพ่นน้ำมันให้กลายเป็นฝอยน้ำมัน ในขณะที่หัวเผาแบบโรตารี่คัพ (Rotary Cup) จะใช้การบังคับด้วยแรงเหวี่ยงเพื่อทำให้น้ำมันกลายเป็นฝอยน้ำมันหัวเผา แต่ละประเภทก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป
แบบพ่นด้วยความดัน (Pressure Jet)
ข้อดี
- โครงสร้างเรียบง่ายและมีราคาถูก
- มีหลายขนาดให้เลือกเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์
- สามารถปรับรูปร่างของเปลวไฟได้ มีตั้งแต่ผอมยาวไปจนถึงสั้นกว้างซึ่งทำให้เหมาะสมกับห้องเผาไหม้ของหม้อไอน้ำทุกประเภท
ข้อเสีย
- น้ำมันที่สกปรกมักจะอุดตันทำให้ต้องมีการกรองอย่างละเอียด
- มีข้อจำกัดอัตราส่วน Turn-down เพียง 2 : 1
- เกิดความเสียหายได้ง่ายระหว่างการทำความสะอาด
- ต้องการอุณหภูมิในรอ่นน้ำมันสูงที่สุดเพื่อต้องเปลี่ยนรูปน้ำมันให้อยู่สภาวะที่เป็นฝอยละเอียด
แบบเป่าด้วยอากาศหรือไอน้ำ (Air or Steam Blast Atomiser)
ข้อดี
- มีโครงสร้างที่ทนทานแข็งแรง
- มีอัตราส่วน Turn-down ที่ดีคือ 4 : 1
- มีการควบคุมอากาศหรือเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเผาไหม้ได้ตลอดเวลา
- สามารถเผาไหม้กับน้ำมันเตาได้เป็นอย่างดี
ข้อเสีย
- พลังงานที่ใช้เพื่อเปลี่ยนรูปน้ำมันให้อยู่ในสภาวะที่เป็นฝอยละเอียดต้องเป็นอากาศที่อัดหรือไอน้ำ
ถ้วยหมุน (Rotary Cup)
ข้อดี
- มีอัตราส่วน Turn-down ที่ดีคือ 4 : 1
- สามารถเปลี่ยนรูปน้ำมันให้อยู่ในสภาวะที่เป็นฝอยละเอียดสำหรับน้ำมันเตาได้เป็นอย่างดี
- ใช้อุณหภูมิต่ำในการอุ่นน้ำมันเพื่อเปลี่ยนรูปน้ำมันให้อยู่ในสภาวะที่เป็นฝอยละเอียด
ข้อเสีย
- การบำรุงรักษาซับซ้อนยุ่งยากและราคาแพง
- ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อหมุนถ้วย หัวเผาน้ำมันและแก๊สที่ผลิตขึ้นและจำหน่ายในประเทศ ต้องเป็นไปตามกฎหมายเพื่อความปลอดภัยและมาตรฐานการปล่อยมลพิษ
การควบคุมหัวเผา (Burner controls)
ต้องมีการพิจารณาระบบการควบคุมที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับการเลือกประเภทของหัวเผา (Burner) ระบบการควบคุมแบบที่ง่ายที่สุดก็คือ ระบบการควบคุมแบบ ON/OFF ซึ่งหมายถึงการควบคุมหัวเผาที่กำลังติดไฟอย่างเต็มที่ หรือปิดหัวเผา ข้อเสียที่สำคัญที่สุดของการควบคุมวิธีนี้ก็คือถ้าหม้อไอน้ำที่เดเทอร์มัลช็อค (Thermal Shocks) บ่อย ๆ เกิดขึ้นทุกครั้งที่จุดเดินเครื่อง ดังนั้นการควบคุมหัวเผาประเภทนี้จึงสามารถใช้ได้กับหม้อไอน้ำขนาดเล็กที่มีกลังผลิตไม่เกิน 300 กิโลวัตต์
ระบบที่มีความซับซ้อมมากขึ้นอีกเล็กน้อยก็คือ ระบบการควบคุมแบบ HIGH/LOW/OFF จะมีระดับของการเผาไหม้ 2 ระดับ การเดินเครื่องของหัวเผาครั้งแรกจะมีระดับของการเผาไหม้ต่ำ จากนั้นก็จะปรับสวิชให้มีการเผาไหม้อย่างเต็มที่ตามความต้องการ สามารถแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดเทอร์มัลช็อค นอกจากนั้นยังควบคุมหัวเผาให้ย้อนกลับไปอยู่ที่ตำแหน่งที่มีการเผาไหม้ระดับต่ำได้ เมือ่ภาระงานลดลงเป็นการลดแรงเค้นที่เกิดขึ้น ระบบการควบคุมหัวเผาประเภมนี้เหมาะที่จะติดตั้งกับหม้อไอน้ำที่มีกำลังผลิตสูงถึง 3.5 เมกกะวัตต์
ระบบการควบุคมหัวเผาโดยปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสม (A MODULATING) หัวเผาจะปรับเปลี่ยนอัตราการเผาไหม้ให้เหมาะสมตามภาระงานของหม้อไอน้ำด้วยการปรับอัตราส่วน Turn-Down ทุกครั้งที่หยุดเดินเครื่องหม้อไอน้ำและเริ่มเดินเครื่องใหม่ โดยจะต้องไล่อากาศในห้องเผาไหม้ออกไปก่อน ซึ่งจะทำให้สูญเสียพลังงานและประสิทธิภาพในการทำงานลดลง อย่างไรก็ตามระบบการควบคุมหัวเผาโดยปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสมหมายความว่า ในขณะที่หม้อไอน้ำนั้นมีการติดไฟอยู่ตลอดเวลา หัวเผาก็จะควบคุมเชื้อเพลิงกับอากาศให้ผสมกันอย่างเหมาะสมและตลอดเวลา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการให้ความร้อน (Thermal Eficiency) มากที่สุด ทำให้แรงเค้นเนื่องจากความร้อนลดลง ระบบการควบคุมหัวเผาประเภทนี้เหมาะสำหรับหม้อไอน้ำที่มีกำลังผลิตมากกว่า 1 เมกกะวัตต์
การจัดคู่ระหว่างหัวเผา ระบบควบคุมกับหม้อไอน้ำต้องคำนึงถึง 3 เรื่องดังนี้
- ความสามารถในการผลิตหม้อไอน้ำสูงสุด
- การขึ้นลงของภาระงาน
- เชื้อเพลิงที่จะใช้
ตัวอย่าเช่น ระบบการควบคุมแบบ ON/OFF ไม่เหมาะสำหรับที่จะใช้กับน้ำมันเตา
สรุปการเลือกขั้นพื้นฐานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหัวเผาน้ำมันไว้ ถึงแม้ว่าจะมีความซ้ำซ้อนในการทำงานระหว่างชนิดของหัวเผาและประเภทของระบบการควบคุมก็ตาม แต่ก็ต้องพิจารณาระบบนั้นร่วมกัน