ระบบน้ำร้อน (Hot water system)
โดยทั่วไป การออกแบบและการทำงานการของระบบน้ำร้อน (Hot Water) จะง่ายกว่าระบบไอน้ำ (Steam System) และยิ่งไปกว่านั้นระบบน้ำร้อนจะเป็นความดันที่ความดันบรรยายกาศ ส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์จากความร้อนไปใช้ให้ความอบอุ่นในอาคารมากกว่าการที่จะใช้ในกระบวนการโดยตรง
น้ำร้อนที่มีความดัน (Pressurised Hot Water)
ตามที่ได้มีการกล่าวถึงในหัวข้อเรื่องของไอน้ำว่า ความดันที่เพิ่มสูงขึ้นมีผลทำให้จุดเดือดของน้ำเพิ่มสูงขึ้นด้วย ถ้าน้ำร้อนมีอุณหภูมิสูงกว่า 850C ต้องเพิ่มความดันในระบบน้ำร้อนเพื่อป้องกันไม่ให้ไอน้ำแฟลชที่จะเกิดขึ้นบางจุดภายในระบบ
วิธีเพิ่มความดัน (Methods of Pressurisation)
โดยทั่วไป วิธีเพิ่มความดันมีใช้อยู่ด้วยกัน 3 วิธี วิธีที่ง่ายที่สุดแสดงให้เห็นในรูปที่ 10 โดยการใช้แรงดันของน้ำจากถังน้ำป้อนเข้าหรือถังขยายตัวรับน้ำ โดยปกติวิธีการนี้ใช้กับระบบที่มีการปฏิบัติการที่อุณหภูมิสูงไม่เกิน 1000C และข้อจำกัดดังกล่าวกำหนดให้ถังน้ำป้อนเข้าหรือถังขยายตัวรับน้ำ ต้องอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าจุดที่สูงที่สุดของระบบการหมุนเวียนน้ำร้อน เพื่อป้องกันการเกิดไอน้ำแฟลช และสำหรับอุณหภูมิของน้ำที่ 1000C ความสูงที่แตกต่างกันควรจะเป็น 7 เมตร
วิธีที่ 2 (พิจารณาจากรูปที่ 11) การใช้อากาศหรือไนโตรเจนป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย โดยใช้เป็นความดันควบคุมน้ำให้มีความดันของระบบให้เป็นปกติ ทั้งไนโตรเจนและอากาศสามารถละลายในน้ำได้ ดังนั้น ต้องป้องกันการสูญเสียและผลที่ทำให้เกิดการรั่วไหลให้ดีด้วย ซึ่งก็สามารถทำได้โดยการตรวจสอบระดับความดันภายในถังน้ำดังกล่าวทั้งแบบไม่อัตโนมัติและแบบอัตโนมัติ สำหรับการควบคุมอากาศให้มีความดันเป็นปกตินั้นจะมีแผ่นยางวางอยู่ระหว่างนต้ำกับอากาศเพื่อลดปริมาณการกัดกร่อนที่เกิดจากออกซิเจนทมี่เจือปนอยู่ในน้ำ
วิธีที่ 3 (พิจารณาจากรูปที่ 12) การใช้แรงดันของน้ำที่ได้จากการปั๊มน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมความดันของระบบให้เป็นปกติ
สำหรับวิธีที่ 2 และ 3 จำเป็นต้องควบคุมระดับความดันให้ต่ำที่สุดเท่าที่ต้องการเพื่อหลีกเลี่ยงการสิ้นเปลืองพลังงาน ทั้งจากการเดินเครื่องปั๊มเพื่อผลิตแรงดันให้สูงขึ้นกว่าที่ต้องการ หรือทำให้ระดับของการรั่วไหลของแก๊สที่มีความดัน (Compressed Gases) สูงขึ้น มีคำแนะนำว่าต้องรักษาระดับความดันโดยให้อุณหภูมิให้สูงกว่าอุณหภูมิการไหลของน้ำร้อนปกติไว้ 170C เพื่อป้องกันการเกิดไอน้ำแฟลช การรักษาระดับอุณหภูมิให้สูงกว่าดังกล่าวทำได้โดยการเพิ่มแรงดันให้สูงขึ้นกว่าจุดที่สูงที่สุดของระบบ ดังที่แสดงไว้ในตัวอย่าง (ดังรูปที่ 10, 11 และ 12)
ระบบต้องการควบคุมความดันโดยการใช้ไนโตรเจนเพื่อควบคุมความดันวางไว้ด้านข้างของหม้อไอน้ำที่ตั้งอยู่ที่ชั้นล่าง
จุดที่สูงที่สุดของระบบจะอยู่บนชั้น 3 ซึ่งจะสูงกว่าชั้นล่าง 10 เมตร
อุณหภูมิการไหลของน้ำตามปกติก็คือ 1000C
อุณหภูมิที่ใช้ควบคุมความดัน = 1000 + 170 C
จากตารางไอน้ำ น้ำเดือดที่อุณหภูมิ 1170C ที่ความดัน 0.8 บาร์
ความดันที่ 0.8 บาร์ เป็นความดันที่สูงกว่าจุดที่สูงที่สุดของระบบ ซึ่งก็เป็นแรงดันไฮโดรลิก (Hydraulic Head) ของน้ำจากหม้อไอน้ำไปที่ส่วนบนสุดของระบบ
แรงดันของน้ำที่ความสูง 10 เมตร = 1.0 บาร์ เกจ.
แรงดันที่ควบคุมความดันทั้งหมด = 0.8 + 1.0 บาร์ เกจ. = 1.8 บาร์ เกจ.
ความดันสูงมากเกินไป - ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน
ท่อจ่ายน้ำร้อน (Distribution Pipework)
ขนาดของท่อที่ถูกต้องเป็นความสมดุลระหว่างต้นทุนการติดตั้งที่ลงทุนไปและค่าใช้จ่ายจากการทำงานของปั๊มระหว่างการเดินเครื่อง ในทางปฏิบัติพบว่าอัตราความเร็วของการจ่ายน้ำร้อนของท่อที่ทำให้ประหยัดได้ต้องอยู่ระหว่าง 1.5 และ 2.5 เมตร ต่อวินาที
การออกแบบระยยให้สมบูรณ์ ความดันตกที่เกิดในท่อหลักหรือท่อประธานและท่อย่อยหรือท่อแยก ต้องนำมาประเมินเพื่อเลือกปั๊มสำหรับนำมาใช้ประโยชน์ให้ถูกต้อง ซึ่งจะไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดไว้ในแนวทางการปฏิบัตินี้ แต่ก็มีเอกสารเผยแพร่มากมายแสดงให้เห็ว่า ควรทำอย่างไรและบอกรายละเอียดความสามารถของท่อที่สามารถนำการไหลของน้ำได้รวมทั้งความดันลดที่เกิดขึ้นด้วย
ท่อที่มีขนาดใหญ่เกินไป -----> การสูญเสียความร้อนมากขึ้น
ท่อที่มีขนาดเล็กเกินไป -----> พลังงานที่ใช้ในการปั๊มก็มากเกินไป
จุดปล่อยน้ำทิ้งและจุดระบายอากาศ (Drain Points and Air Vents)
จุดน้ำทิ้งที่มีการติดตั้งวาล์วต้องอยู่ที่จุดที่ต่ำที่สุดในระบบ และมีคำแนะนำวว่าวาล์วทั้งหมดควรมีระบบล็อคได้ด้วย
มีคำแนะนำว่า ไม่ว่าการระบายอากาศจะเป็นระบบใช้มือหรือระบบอัตโนมัติก็ตามควรจะวางอยู่ที่ส่วนบนสุดของระบบ หรือต่อยกขึ้นและ/หรือต่อลงก็ตาม อากาศที่ถูกักไว้ในระบบจะทำให้เกิดการกัดกร่อนและตำแหน่งของจุดระบายอากาศหรือแก๊สที่ผ่านเข้ามาใหม่ก็จะกลายมาเป็นสารละลาย ถังนั้นถ้าอากาศเหล่านี้ไม่ถูกกำจัดออกไป ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดการกัดกร่อนเท่านั้น แต่ยังจะทำให้อากาศที่ถูกกักไว้ไปขัดขวางการไหลภายในระบบด้วย ทำให้ประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนลดลง และถ้าทิ้งไว้นานเกินไปก็จะทำให้ระบบเกิดสภาวะอากาศอั้น (Air-Locked) ระบบไม่หมุนเวียน
กลับหน้าแรก